เมนู

ความหมายของอังคณกิเลส


[56] ม. ท่านขอรับ คำที่ท่านกล่าวว่า อังคณะ ๆ ดังนี้ คำนั้น
เป็นชื่อของอะไรหนอ ?
สา. ท่านครับ คำว่า อังคณะนี้ เป็นชื่อของอิจฉาวจรที่เป็น
บาปอกุศล.

อังคณกิเลสที่ 1


[57] ท่านขอรับ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนา
อย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ แต่ภิกษุทั้งหลาย อย่าพึงรู้เราว่า
ต้องเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ภิกษุนั้นว่า ต้อง
อาบัติ เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายรู้เราว่าต้อง
อาบัติ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง 2
นี้ชื่อว่า อังคณะ.

อังคณกิเลสที่ 2


[58] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเรา
ในที่ลับ ไม่พึงโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุ
ทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ไม่โจทในที่ลับ เธอก็จะโกรธ ไม่
แช่มชื่น เพราะคิดว่าภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับ
นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ความโกรธและควานไม่แช่มชื่น ทั้ง 2 นี้ ชื่อว่า
อังคณะ.

อังคณะกิเลสที่ 3


[ 59 ] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ บุคคลที่เสมอกันพึง
โจทเรา บุคคลที่ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. บุคคล
ที่ไม่เสนอกันพึงโจทภิกษุนั้น บุคคลที่เสมอกันไม่พึงโจทภิกษุนั้น นี้เป็น
ฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า บุคคลที่ไม่เสมอ
กันโจทเราไม่ใช่ผู้เสมอกันโจท. ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง 2
นี้ชื่อว่า อังคณะ.

อังคณกิเลสที่ 4


[60] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถาม
เราเท่านั้น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทรงซักถาม
สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเลย นี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดง
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามภิกษุนั้น แล้วทรงแสดง
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายไม่ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า พระศาสดาทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลายไม่. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง 2 นี้ชื่อว่า อังคณะ.